การเคหะฯ เลือกพื้นที่ชุมชนร่มเกล้า เตรียมพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ (PUD) ใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การเคหะแห่งชาติศึกษาแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยบริเวณโดยรอบสถานีและตามแนวรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง โดยใช้ที่ดินบริเวณชุมชนร่มเกล้าในการดำเนินโครงการในอนาคต

นายสุภัคร ลดาวัลย์ ณ อยุธยา รองผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวว่า การเคหะแห่งชาติดำเนินการตามภารกิจในการพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และการพัฒนาเมืองภายใต้วิสัยทัศน์“เป็นองค์กรหลักด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนและเมือง เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนของสังคมไทย” โดยจ้างศึกษาแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยบริเวณโดยรอบสถานีและตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่และรถ ไฟความเร็วสูง เพื่อให้สามารถรองรับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นทั้งในเชิงพาณิชย กรรมและที่อยู่อาศัย โดยเลือกพื้นที่ของการเคหะแห่งชาติบริเวณชุมชนร่มเกล้า ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับการจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหา -นคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) โดยการเคหะแห่งชาติมีแนวคิดดำเนินมาตรการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ (Planned Unit Development : PUD) อันเป็นการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระบบโครงสร้างมาตรฐาน และการออกแบบอาคารภายในโครงการพัฒนาที่ดินด้วยระเบียบและมารตฐานที่กำหนดขึ้นเป็นพิเศษที่แตกต่างจากแผนผังและข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Zoning) ที่มีอยู่แต่เดิม การกำหนดพื้นที่ควบคุมโครงการพัฒนาขนาดใหญ่นี้จะเปิดโอกาสให้นักพัฒนาเอกชนสามารถสร้างความหลากหลายของประเภทการใช้ที่ดิน (Mix Land Use) ความหนาแน่นอาคารและการออกแบบพื้นที่ได้โดยไม่ถูกจำกัดโดยข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงเดี่ยวที่ควบคุมที่ดินแปลงนั้นอยู่ ซึ่งประโยชน์ของมาตรการนี้เป็นการสร้างความหลากหลายของการใช้ประโยชน์ที่ดิน การเพิ่มพื้นที่โล่งว่างสาธารณะ การส่งเสริมการคมนาคมขนส่งแบบไม่ใช้เครื่องยนต์ฯ ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนการประสานงานกับบริษัทที่ปรึกษา (โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด) ของกรุงเทพมหานคร โดยต้องมีความสอดคล้องกับโหมดการเดินทางในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง เช่น รถไฟฟ้าสายสีส้ม สีชมพู และการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในระยะที่ 2 ซึ่งจากวิธีการดังกล่าวเป็นการศึกษาเพื่อพิจารณาที่ดินของการเคหะแห่งชาติ ประมาน 630 ไร่ นำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ ประกอบด้วย พื้นที่สีเขียว และสาธารณูปการ รวมทั้ง FAR เพิ่มมากขึ้นโดยจากการศึกษามีวิธีการพัฒนาในหลายรูปแบบ ซึ่งการเคหะแห่งชาติอยู่ระหว่างเลือกรูปแบบที่เหมาะสมและดีที่สุดที่จะพัฒนาที่อยู่อาศัย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและสังคมทั่วไป

นอกจากโครงการศึกษาดังกล่าวข้างต้นแล้ว การเคหะแห่งชาติยังมีโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาที่อยู่อาศัยที่สำคัญและน่าสนใจ ได้แก่ โครงการวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการเพื่อที่อยู่อาศัยของภาครัฐโดยใช้เกณฑ์ Eco – village โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดการความรู้เรื่องอัตลักษณ์และภูมิปัญญาด้านที่อยู่อาศัยของท้องถิ่นกรณีศึกษา 5 ภูมิภาค โครงการวิจัยแนวทางการออกแบบที่อยู่อาศัยโดยใช้เทคโนโลยีด้านพลังงาน การบริหารจัดการน้ำและขยะมูลฝอยเพื่อนำไปต่อยอดในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น

Visitors: 1,263,487